วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นามที่แปลงรูปมาจากคำกริยา

ภาษาอาหรับมีลักษณะที่โดดเด่นกว่าภาษาอื่นอยู่อย่างหนึ่ง ตรงที่สามารถนำคำกริยาคำใดคำหนึ่งมาดัดแปลงให้เกิดความหมายใหม่ๆ ได้นับสิบคำ อาทิเช่น (กิน) أكل สามารถนำคำนี้มาแปลงเป็นผู้กิน آكِل , สิ่งที่ถูกกิน مأكول , เวลากิน, คนรักการกิน, จะกิน, จงกิน ฯลฯ โดยรากศัพท์เดิม คือ أ ك ل สามอักษรไว้ เเล้วมาเปลี่ยนแปลงรูปคำใหม่ก็จะเกิดความหมายใหม่ โดยคำที่แปลงมาจากรูปศัพท์เดิมเรียกว่า مُشْتَقَّات ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

  1. นามผู้กระทำ إسم الفاعل คือนามที่แปลงมาจากกริยาเพื่อให้มีความหมายเป็นผู้กระทำ หากคำกริยามี 3 อักษร นามผู้ถูกกระทำจะอยู่ในตาชั่ง فَاعِلٌ เช่น
คำกริยา 3 อักษร
นามผู้กระทำ
ความหมาย
كَتَبَ
كَاتِبٌ
ผู้เขียน
دَخَلَ
دَاخِلٌ
ผู้เข้า
حَفَظَ
حَافِظٌ
ผู้จดจำ

** หากเป็นคำกริยาใดที่มีอักษรอะลิฟ ا อยู่ตรงกลางให้เปลี่ยนเป็นฮัมซะฮฺ (ء) เช่น

คำกริยา 3 อักษร
นามผู้กระทำ
ความหมาย
قَال
قَائِلٌ
ผู้กล่าว
سَارَ
سَائِلٌ
ผู้เดิน
لامَ
لائِمٌ
ผู้ตำหนิ
صَامَ
صَائِمٌ
ผู้ถือศีลอด

** หากคำกริยาใดมี ى ، ا อยู่ท้ายก็ให้ตัดทิ้งเสีย เช่น

คำกริยา 3 อักษร
นามผู้กระทำ
ความหมาย
جَرَى
جَارٍ
ผู้วิ่ง
دَعَا
دَاعٍ
ผู้เชิญชวน
هَدى
هَادٍ
ผู้นำทาง

** หากคำกริยาใดมีชัดดะฮฺ ّ ก็ให้คงชัดดะฮฺไว้ดังเดิม เเต่ให้ลากเสียงยาว เช่น

คำกริยา 3 อักษร
นามผู้กระทำ
ความหมาย
دَلَّ
دَالٌّ
ผู้บ่งชี้
ضَلَّ
ضَالٌّ
ผู้หลงทาง
مَدَّى
مَادٌّ
ผู้ยื่น

** หากคำกริยามี 4 อักษรหรือมากกว่าทำได้โดยการเปลี่ยนอักษรมุฎอร่ออะฮฺ أ ، ن ،ي ، ت จากกริยาปัจจุบันกาลเป็น มีมมัฎมูมะฮฺ مُـــ เเละใส่สระกัสเราะฮฺ ก่อนอักษรสุดท้าย เช่น

คำกริยา 3 อักษร
นามผู้กระทำ
ความหมาย
يَجْتَمِعُ
مُجْتَمِعٌ
ผู้ร่วมประชุม
يَمْتَنِعُ
مُمْتَنِعٌ
ผู้หักห้าม
يُقَاتِلُ
مُقَاتِلٌ
ผู้สู้รบ

โปรดติดตามตอนที่ 2 ในเรื่อง นามถูกกระทำ إسم المفعول

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น